WiTcast – episode 13.2

กดฟัง WiTcast ตอนที่ 13.2

download ไฟล์ MP3 (คลิกขวา save link as)

PODCAST / iTUNES

สำหรับผู้ที่ใช้ iPhone, ipod ท่านสามารถใช้โปรแกรม iTunes สมัครเป็นสมาชิกรายการให้โหลดเองอัตโนมัติได้ โดยเข้า iTunes store แล้วเสริชหา witcast หรือ subscribe ผ่าน feed นี้โดยตรง http://feeds.feedburner.com/witcast

ร่วมบริจาคเงินสนับสนุนรายการได้โดยโอนเข้าบัญชี :

ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาบิ๊กซี สะพานควาย
เลขบัญชี 0332935256
ชื่อ แทนไท ประเสริฐกุล

หรือส่งผ่าน paypal มาที่ yeebud@gmail.com

————————————————————-

SHOW NOTE

time

– ณ Office พี่ยอ ที่ตึก 19 ชั้น จุฬา

A9MnxrMCEAERCc3 A9NHoS1CAAIq_ih 468979_451582861571224_1131996502_oคุยกับพี่ยอได้ทาง Twitter – @mryor

Thought experiment ของกาลิเลโอ

File:Galilee.jpg

เวอร์ชั่นที่พี่ยอเล่า ให้นึกมวล 2 ก้อนเท่าๆ กัน ถ้าแค่ผูกติดกันไม่น่าจะส่งผลให้ตกเร็วขึ้น เพราะงั้นต่อให้แปะแนบชิดเป็นมวลเดียวไปเลยก็ไม่น่าจะส่งผลอยู่ดี สรุปคือน้ำหนักของก้อนมวลไม่ส่งผลต่อความเร็วในการตก

ในเวอร์ชั่นอื่นๆ บางครั้งให้นึกภาพ มวลใหญ่มีมวลเล็กมาผูกพ่วงติดอยู่ ถ้าน้ำหนักมีผล ทั้งสองเมื่อพ่วงกันแล้วหนักมาขึ้นจึงควรต้องตกเร็วขึ้น แต่ขณะเดียวกัน ลูกเบาซึ่งตกช้ากว่าก็น่าจะต้องรั้งลูกใหญ่ให้ตกช้าลงด้วย กลายเป็นทั้งเร็วขึ้นและช้าลง เกิดขัดแย้งกันเอง เลยสรุปว่าเป็นไปไม่ได้ที่น้ำหนักจะมีผล  คิดแบบนี้ก็ได้ข้อสรุปเดียวกัน

Figure 6

ตามประวัติศาสตร์ไม่ได้มีบันทึกไว้ว่ากาลิเลโอเคยไปปล่อยลูกปืนใหญ่บนหอเอนปิซ่าจริงรึเปล่า คิดว่าไม่น่าจะ

การทดลองของจริงน่าจะใช้รางเอนแบบนี้มากกว่า

คลิปวิดิโอ ทดลองปล่อยของจากหอเอนปิซ่า

คลิปนี้ทดสอบหลายอย่าง น่าสนใจมาก

ปล่อยขนนกกับฆ้อนบนดวงจันทร์ (ไม่มีแรงต้านอากาศ)

เรื่องเลนส์กล้องดูดาว หารูปที่ตรงกับพี่ยออธิบายเป๊ะๆ ไม่เจอ เจอแต่รูปประมาณนี้ก็น่าจะพอให้นึกภาพออกได้บ้างนะ

https://i0.wp.com/galileotelescope.org/Galileo_telescope/AAAAgalileo_telescope.jpg

Wormhole

File:LorentzianWormhole.jpg

Special relativity & Twin Paradox




คาร์ล เซเกน อธิบายเอง

– ทฤษฎีย้อนเวลาอีกแบบ อธิบายโดยคุณมิชิโอะ คาคู ไม่เหมือนที่พี่ยอเล่าเป๊ะ แต่ใช้ Wormhole เหมือนกัน – 1

grandfather paradox

– หนังที่เกี่ยวกับ time travel

ไฟล์:Back to the future.jpg

File:Primer.jpg

time crime

– เรื่องที่เล่าเกี่ยวกับ “ชายผู้เป็นทั้งพ่อและแม่ของตัวเอง” ของดั้งเดิมมาจากเรื่องสั้นโดย Robert Heinlein ชื่อ “All you zombies”  –1,2,3

ฟิสิกส์เบร้อในหนัง

ตกอิสระทะลุโลก1,2

ปัญหาย่อส่วน


ระเบิดในอวกาศ

8 thoughts on “WiTcast – episode 13.2

  1. แนะนำ หนังสือ ปลาที่ว่ายนอกสนามฟุตบอล ของ คุณวินทร์ เลียววาริณ มีพูดถึงพล็อตหนังเกี่ยวกับไทม์แมชชีนหลายเรื่องเลยครับ

  2. อันนี้เป็นคอมเม้นที่มีประโยชน์จาก fan page นะครับ
    เครดิต คุณ Supakchai Ponglertsakul ขอบคุณมากนะครับ

    “สวัสดีครับ วันนี้ได้นั่งฟัง clip ที่ อ.ยอ มาพูดแล้วประทับใจครับ เลยอยากขออนุญาติ ขยายความบางจุด เท่าที่ความรู้ผมจะมีนะครับ ถ้าใครเห็นแย้งก็แลกเปลี่ยนกันได้ครับ

    เรื่องแรก รูหนอน : แนวคิดเริ่มแรกเกี่ยวกับรูหนอน คือไม่ได้เอา ก้น หลุมดำสองเอา มาเชื่อมติดกันครับ แต่เป็น เอาก้นของ หลุมดำ และ หลุมขาวมาเชื่อมติดกัน หลุมขาวอธิบายง่ายๆ ก็คือเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกันกับหลุมดำครับ แทนที่จะดูดทุกสิ่งทุกอย่าง มันจะผลักทุกสิ่งทุกอย่างออกมาแทนครับ
    นึกภาพง่ายๆ ถ้าเรามุดเข้าไปในรูหนอน ขาออกถ้าไปอยู่ในหลุมดำอีกฝั่งแล้วเราจะมุดออกมาได้ยังไง

    ในช่วงแรกของการค้นพบรูหนอนในเชิงทฤษฎี เราพบว่ารูหนอนไม่เสถียรอย่างแรงครับ คือตรงคอ ที่เชื่อมกันระหว่างสองหลุมจะมีการสลายตัวอย่างรวดเร็วครับจนไม่สามารถใช้ในการเดินทางผ่านได้ มีความพยายามจะทำให้มันเสถียรโดยการ เพิ่มเติมสสารประหลาดบางอย่างเข้าไปในทฤษฎีครับ

    ในปัจจุบันผมไม่ได้ตามงานวิจัยทางด้านนี้่เท่าไรเลยไม่ทราบว่า มีการพัฒนากันไปถึงไหนแล้วครับ

    แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังไม่มีการค้นพบ หลุมขาวในธรรมชาติครับ เลยยังเป็นวัตถุในทางทฤษฎีที่เอาไว้ศึกษา พฤติกรรมของแรงโน้มถ่วงต่อไปครับ

    อีกจุดนึงก็คือ รูหนอนใช้เป็นทางเชื่อมระหว่าง ระยะทางใน อวกาศและเวลานะครับ ไม่ใช่เฉพาะ อวกาศอย่างเดียว

    เรื่องที่สอง : สสารมืด และ พลังงานมืด

    สองอย่างนี้อาจจะฟังดูคล้ายกันแต่มีที่มาต่างกันครับ

    สสารมืด เกิดมาจากเราสังเกต การหมุนของ galaxies ต่างๆแล้วพบว่า ความเร็วของการหมุน มันไม่สอดคล้องกับ จำนวนมวลที่เราสังเกตเห็นได้ในทุกๆ spectrum ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มันดูเหมือนกับว่าจะต้องมี มวลหรืออะไรบางอย่างที่มากกว่านี้ เพื่อที่จะทำให้ galaxies มีการหมุนเป็นไปตามที่เราสังเกตได้ และเนื่องจากเรามองไม่เห็นสสารประเภทนี้ เราจึงเรียกมันว่า สสารมืด (dark matter)

    พลังงานมืด แนวคิดนี้เริ่มมาจาก ที่เราพบว่า ปัจจุบันเอกภพกำลังขยายตัวด้วยความเร่ง ซึ่งมันขัดแย้งกับแนวความคิดเดิมว่า เอกภพควรจะขยายตัวช้าลงเพราะ สสารต่างๆในเอกภพน่าจะดึงดูดกันและกัน จนทำให้ เอกภพขยายตัวช้าลง แต่จากการสังเกตไม่ได้เป็นเช่นนั้นครับ
    มันดูเหมือนกับว่าในที่ที่ ว่างเปล่าไม่มีอะไร กลับมีพลังงานลึกลับบางอย่างที่มีคุณสมบัติคอยผลักให้เอกภพขยายตัวออกไปเร็วขึ้นเรื่อยๆ เราก็เลยเรียกมันว่า และเนื่องจากเราไม่ทราบว่ามันคืออะไร เราเลยเรียกมันว่า พลังงานมืด (dark energy)

    เรื่องที่สาม : เรื่องที่ว่า Peter Higgs ไม่ได้รางวัลโนเบลปีนี้ ผมเข้าใจว่า ณ ปัจจุบัน เราตรวจพบ อนุภาคตัวใหม่ ที่ “น่าจะเป็น Higgs” แต่ยังไม่ยืนยันว่าใช่เพราะต้องรอการ ตรวจสอบ คุณสมบัติของมัน ว่ามันตรงตามคุณสมบัติของ Higgs ที่เรามีอยู่ในทฤษฎีหรือเปล่า ดังนั้นยังต้องการการวิเคราะห์ข้อมูลอีกมากครับ กว่าจะยืนยันได้ว่า เป็น Higgs แน่ๆ

    เรื่อง 5 Sigma ของ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐ่านนั้น บอกแค่เราเจอ “ของใหม่แน่ๆ” แต่ไอ้ของใหม่ที่ว่าจะใช่ Higgs หรือเปล่าก็ต้องรอการตรวจสอบเพิ่มเติมก่อนครับ

    โดยสรุปรวมผมชอบ คลิปนี้ครับ อยากให้มีการทำออกมาอีก หลายๆหัวข้อที่น่าสนใจ ขอบคุณผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่านครับ

    ส่วนตัว ผมชอบตอนที่นั่งคุยกันเรื่อง ฟิสิกส์ในหนัง กับ เรื่องของ scale ต่างๆครับ ฟังแล้วสนุกดีครับ 🙂 “

  3. ประเด็นที่พูดคุยในตอนนี้น่าสนใจดีครับ.. แต่ปวดหัวแขกรับเชิญมาก!
    ミ☉﹏⊙ミ

  4. เป็นตอนที่ฟังยากมากตอนหนึ่งสำหรับผมเลยครับ
    ต้องเปิดฟังหลาย ๆ รอบเลยกว่าจะพอเข้าใจ
    แต่ก็สนุกดี ^_^

  5. หนังที่พี่แทนไทเล่า (jim jan) เนื้อเรื่องแบบสุดยอดอะ
    คนแต่งคิดได้ไงอะ=[]=

Leave a reply to winner Cancel reply